องค์การบริหารส่วนตำบลพระเจ้า

Phrachao Subdistrict Administrative Organization

ประวัติความเป็นมา


ออนไลน์ : 7

หัวข้อ :: ประวัติความเป็นมา

ประวัติตำบลพระเจ้า
     ตำบลพระเจ้า แยกเขตการปกครองออกจากตำบลพระธาตุ ระยะแรกแบ่งการปกครอง ออกเป็น 9 หมู่บ้าน และต่อมามีการแบ่งแยกหมู่บ้านเพิ่ม ขึ้นอีก 3 หมู่บ้าน รวมเป็นจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน มีการปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง คือองค์การบริหารส่วนตำบลพระเจ้า 
     ประวัติบ้านพระเจ้า
     บ้านพระเจ้า ตั้งอยู่ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด บ้านพระเจ้าตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2000 แต่ก่อนบ้านพระเจ้า ได้ตั้งหมู่บ้านขึ้น ยังไม่มีหมู่ที่ ต่อมาได้หลายปีในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ได้ขยายการปกครองมาสู่ท้องถิ่น จึงได้รับ หมู่ที่ - ตำบล- อำเภอ-มณฑล-จังหวัด บ้านพระเจ้าจึงได้ถูกคัดเลือกจากราษฎร ในหมู่บ้านพระเจ้าจึงได้แต่งตั้งเป็นหมู่ที่ 1 ตำลบลพระเจ้า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ก่อนบ้านธวัช (หรือบ้านดินแดง) ทางราชการก็ได้ตั้งเป็นอำเภอธวัชบุรี ตั้งอยู่ติดกับฝั่งริมแม่น้ำชี และถนนสายร้อยเอ็ด ไปอำเภอโพนทองทุกวันนี้ ในระยะต่อมาทางราชการเห็นว่าอำเภอธวัชบุรีการคมนาคมไม่สะดวก ราษฎรไปติดต่อทางอำเภอก็ลำบาก และไม่ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์กลางเนื้อที่ของอำเภอ จึงได้ย้ายอำเภอนี้เสียใหม่ คืออำเภอแซงบาดาล มณฑลร้อยเอ็ด ติดต่อกับถนนสายร้อยเอ็ดไปจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ต่อมาอีกทางราชการ ตำบลพระเจ้าได้แยกการปกครองออกจากตำบลพระธาตุระยะแรกแบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้าน และต่อมามีการแบ่งแยกหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก 3 หมู่บ้าน รวมเป็นจำนวน 12 หมู่บ้าน มีการปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลพระเจ้า 
     ประวัติองค์พระธาตุ
     องค์พระธาตุเชียงขวัญวัดใหญ่ บ้านพระเจ้า หมู่ที่ 8 ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อสร้าง ในปี พ.ศ 2465 โดยพระครู วินัยธรรมฮวด (หลวงปู้ฮวด) เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งจำลอง มาจากพระธาตุพนม ท่านได้นำคณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านพระเจ้า และบ้านใกล้เคียง ได้ร่วมแรงร่วมใจ ก่อสร้างองค์พระธาตุรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 10 วา (20 เมตร) ความสูงจากฐานถึงยอด 16 วา (32 เมตร) สร้างเสร็จในปี พ.2470    องค์พระธาตุสร้างขึ้นโดยอิฐ ถือปูนภายนอก ตกแต่งด้วยลายปูนปั้น ปิดประดับด้วยกระจกสีมี ยอดฉัตร เป็นโลหะ (ปัจจุบันยอดฉัตรเป็นทองคำ) วัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ได้มาจากกรรมวิธี ผลิตแบบโบราณ คือ อิฐ ได้มาจากการปั้นอิฐดิบ มาเผ่าให้สุก ส่วนปูนซีเมนต์ ได้มาจากการขุดเอา หินปูนเอาเปลือกหอยตามท้องนามาเผา แล้วกรองให้ ละเอียดผสมกับทรายแม่น้ำชี ยางไม้บง และน้ำประสาน ได้แก่ น้ำแช่หน้งควาย  (หนังควายแก่ที่ตายแล้ว) น้ำมะขามเปียก น้ำแช่เครือเขาคำ (เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง) นำมาผสมแลโขลกตำให้เข้ากันใช้แทนปูนซีเมนต์ภายใน องค์พระธาตุ บรรจุสิ่งของมีค่ามากมาย ประกอบด้วยพระพุทะรูป เครื่องประดับ ต่างๆเป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นที่ประดิษฐ์ฐาน พระบรมสาริกธาตุ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้สักการบูชา งบประมาณในการก่อสร้างไม่สามารถคิดคำนวณ เป็นเงินได้เนื่องจากไม่ได้ ใช้ระบบซื้อขาย วัสดุก่อสร้างหรือการจ้างเหมาแรงงาน
วันที่ : 29 พฤศจิกายน 2563   View : 1451